Animated Cool Shiny Blue Pointer

บทที่ 8 วิธีการปรับปรุงการเพิ่มผลผลิต





แนวคิด
          วิธีการปรับปรุงการเพิ่มผลผลิต คือ การดำเนินงานขององค์การให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์จาการวางแผนการผลิต มุ่งเน้นการเพิ่มผลผลิตตามแผนที่กำหนดไว้ โดยองค์การอำนาจเทคโนโลยีเข้ามาใช้การเพิ่มผลผลิตหรือใช้เทคนิคทางวิศวอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นการปรับปรุงการทำงานจากการศึกษาวิธีการทำงาน การผลิตแบบทันเวลา รวมทั้งการบำรุงรักษาทวีผล กิจกรรมดังกล่าวล้วนแล้วแต่ช่วยในปฏิบัติงานขององค์การมีประสิทธิภาพด้วยกระบวนการ เพื่อการเพิ่มผลผลิต

สาระการเรียนรู้
1.  การเพิ่มผลผลิตด้วยเทคโนโลยี
2. การผลิตแบบ Just In Time
3. การบำรุงรักษาทวีผล

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
1. อธิบายการเพิ่มผลผลิตด้วยเทคโนโลยี
2. อธิบายประเภทของการเพิ่มผลผลิตด้วยเทคโนโลยี
3. อธิบายการผลิตแบบ Just In Time
4. อธิบายการบำรุงรักษาทวีผลได้
5. วิเคราะห์ เลือกใช้การปรับปรุงการเพิ่มผลผลิต

การเพิ่มผลผลิตด้วยเทคโนโลยี  
การเพิ่มผลผลิตด้วยเทคโนโลยี (Technological Productivity) หมายถึง การนำวิทยาการทางวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติงานด้านอุตสาหกรรม เพื่อช่วยให้การดำเนินงานต่าง ๆขององค์การเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นจากการปฎิวัติอุตสาหกรรมในประเทศอังกฤษ ศตวรรษที่ 18 เป็นต้นมา ได้มีการสร้างเครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์การทำงานต่าง ๆ ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จะเห็นได้ว่าการพัฒนาทางเทคโนโลยีมีผลต่อการเพิ่มผลผลิตเป็นอย่างมาก การเพิ่มผลผลิตด้วยเทคโนโลยีสามารถแบ่งออกได้ ดังนี้
1. การใช้เครื่องจักร เครื่องมือในกระบวนการผลิต
การเพิ่มผลผลิตโดยใช้เครื่องจักร เพื่อเพิ่มอัตราการผลิตให้สูงขึ้นโดยเฉพาะระบบเครื่องจักรอัตโนมัติ (Actomation)  ซึ่งเป็นความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว เครื่องจักรมีทั้งแบบอัตโนมัติและควบคุมการทำงานด้วยคอมพิวเตอร์ เครื่องจักรเครื่องมือถูกนำมาใช้แทนมนุษย์เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะงานที่เสี่ยงอันตราย งานที่ต้องการทำซ้ำ หรืองานที่ต้องการความแม่นยำ เครื่องจักรจะปฎิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำทั้งหลายนั้น มักจะนำการเพิ่มผลผลิตของตนด้วยวิธีการดังกล่าว พนักงานจะมีหน้าที่เดินเครื่องจักรป้อนวัตถุดิบในการผลิต กระบวนการผลิต เครื่องจักรจะเป็นผู้ดำเนินการโดยอัตโนมัติ
ปัจจุบันได้มีการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการทำงาน คอมพิวเตอร์มีคุณสมบัติที่ดีในการเก็บข้อมูล การประมวลผลที่รวดเร็ว ทำให้องค์การผู้ผลิตสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการ Integrated Manufacturing (CIM)
การผลิตโดยรวม คือ การรวมเอาระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการออกแบบการผลิต มาเชื่อมโยงเข้าเป็นระบบที่ต่อเนื่องกันเป็นระบบเดียวกันทั้งองค์การ เริ่มตั้งแต่งานด้านการตลาด การผลิตจนกระทั่งการนำสินค้าส่งถึงมือลูกค้า คอมพิวเตอร์ที่นำมาใช้นี้จะมีทั้งระบบแยกออกเป็นส่วน ๆ ของแต่ละงานและมีทั้งแบบที่มีระบบงานทั้งหมดครบทุกส่วนอยู่ในโปรแกรมเดียวกัน
ประเทศที่มีความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี หุ่นยนต์ (Robot) ได้ถูกนำเข้ามาในระบบการผลิตแทนมนุษย์ ในลักษณะที่เป็นแขนกลแทนซึ่งจะถูกออกแบบและควบคุมการทำงานด้วยคอมพิวเตอร์ หุ่นยนต์มีราคาแพงการนำมาใช้ในการทำงาน ทำให้องค์การต้องลงทุนเป็นจำนวนเงินที่สูง ไม่เหมาะสมต่อประเทศที่กำลังจะพัฒนา
2. การใช้เทคโนโลยีในรูปของวิทยาการความรู้ หรือวิธีการทำงาน
การเลือกใช้เทคนิควิธีการปฎิบัติงานทืจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ให้การปฎิบัติงานได้อย่างรวดเร็ว หรือประยัดเวลามากขึ้น ซึ่งก็จะช่วยให้อัตราการผลิตขององค์การเพิ่มสูงขึ้นได้เช่นกัน
เทคนิคทางวิศวกรรมอุตสาหการ
เทคนิคทางวิศวกรรมอุตสาหการ (Industrial Engineering Techmique) หมายถึง กลุ่มของเทคนิคต่าง ๆ ที่ใช้ศึกษากระบวนการทำงานอย่างเป็นระบบเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานโดยลดขั้นตอนที่ไม่จำเป็นสามารถทำการขจัดของเสีย การปฎิบัติงานที่ไม่คงที่แน่นอน การทำงานที่ไม่ทำให้เกิดผลงาน รวมถึงการยกระดับคุณภาพของสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ให้สูงขึ้น รวมทั้งการขนส่งที่มีความรวดเร็วและประหยัด เทคนิคทางวิศวกรรมอุตสาหการ  จะใช้กันในระดับจัดการระดับหน่วยงานออกแบบ พนักงานทุกระดับที่อยู่ในองค์การและเจ้าหน้าที่ในสำนักงาน สามารถเรียนรู้และนำไปปรับปรุงในการดำเนินงาน
        เทคนิคทางวิศวกรรมอุตสาหการ จึงเป็นเทคนิคที่ใช้ในการปรับปรุงการทำงานเป็นกระบวนการเพื่อการเพิ่มผลผลิตที่สำคัญได้แก่
1. การปรับปรุงงาน (work Inprovement)
2. การศึกษาวิธีการทำงาน (Method Study)           
3. การวัดผลงาน (Work Measurement)
การปรับปรุงงาน
การปรับปรุงงาน (work Inprovement) หมายถึง การพัฒนาหรือกำหนดหาวิธีการใหม่ ๆ มรการดำเนินการ การปรับปรุงงานจึงรวมถึงสภาพการทำงานและกระบวนการทำงาน เพื่อลดความผันแปรที่เกิดขึ้นจากสาเหตุต่าง ๆ ในกระบวนการผลิต โดยองค์การจัดเตรียมความพร้อมทั้งที่ใช้ในการปฎิบัติงานและใช้ในการป้องกันให้ได้มาตรฐาน ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ การปรับปรุงจึงมีวัตถุประสงค์สำคัญคือ
1. เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพวิธีการทำงาน
2. เพื่อรักษาเป้าหมายและมาตรฐานของงานตามที่องค์การกำหนดไว้
3. เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงาน และปรับปรุงการดำเนินงานให้ได้ผลตามเป้าหมาย
4. เพื่อการพัฒนามาตรฐานหรือเป้าหมายของการดำเนินงานให้สูงขึ้น
การปรับปรุงจะเป็นการกำหนดว่า องค์การจะปรับปรุงแก้ไขหรือพัฒนาการดำเนินงานขั้นตอนใดและด้วยวิธีการใดตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ตามวิธีการที่เหมาะสม เช่น การปรับปรุงระบบงานหรือวิธีการดำเนินงาน การปรับปรุงทรัพยากรหรือการพัฒนาบุคลากร เป็นต้น ถ้าองค์การพบว่างานที่ทำนั้นสามารถตัดทอนลงได้ เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการดำเนินงาน หรือขั้นตอนของงานที่ซับซ้อน ถ้าแยกงานนั้นออกจากกันจะทำให้การดำเนินงานได้เร็วขึ้นก็ควรจะแยกออกเพื่อให้การดำเนินงานขององค์การมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเพิ่มมากขึ้น สรุปขั้นตอนการปรับปรุงงานได้ดังนี้
1. การปรับปรุงประสิทธิภาพด้านการผลิตขององค์การ ได้แก่
ลดต้นทุนของคงคลังสินค้า และต้นทุนต่อหัวผู้ปฎิบิตงาน
ลดชั่วโมงการทำงานในกระบวนการผลิต
ลดเวลากระบวนการผลิต และช่วงเวลาการจัดหาวัตถุดิบ
2. การปรับปรุงประสิทธิภาพ หน้าที่การทำงาน ได้แก่
ยกระดับการปฎิบัติงาน ด้วยการปรับปรุงคุณภาพและความเที่ยงตรง
การปฎิบัติงานให้ราบรื่น โดยการแลกเปลี่ยนข่าวสารที่มีประโยชน์
บริหารการจัดงานทีทันต่อเหตุการณ์
ยกระดับและสร้างมาตรฐานในการทำงาน
ปรับปรุงสัดส่วนของบุคลากรที่มีทักษะหลายอย่างให้สูงขึ้น
3. ปรับปรุงและสร้างสรรค์งานได้แก่
ลดการปฎิบัติงานที่ซับซ้อน
ปรับเปลี่ยนการปฎิบัติงานให้ง่ายขึ้น
ปรับเปลี่ยนบรรยากาศการสร้างขวัญและกำลังใจในการทำงาน
ยกระดับความสมัครใจในการปฎิบัติงานที่ท้าทายต่อความสามารถของพนักงาน
การศึกษาวิธีการทำงาน
        การศึกษาวิธีการทำงาน (Method Study) หมายถึง การศึกษาวิธีการทำงานจากการบันทึกและวิเคราะห์วิธีการทำงานขององค์การที่กำลังทำอยู่ เพื่อเสนอวิธีการทำงานแบบใหม่อย่างมีระบบ และประยุกต์ใช้เป็นเครื่องมือในการทำงานให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลการศึกษาวิธีการทำงานจะช่วยให้เกิดการปรับปรุงกระบวนการในการทำงาน ให้มีความเหมาะสมกับการปฎิบัติงาน โดยยึดหลักการยศาสตร์ (Ergonomic) และสิ่งแวดล้อมในการทำงานเป็นสำคัญ
        การยศาสตร์ (Ergonomic) เป็นเทคนิควิธีการ การนำปัจจัยเกี่ยวกับมนุษย์มาประกอบการออกแบบในการทำงาน ให้มีความสมดุลเหมาะสมกับสมรรถนะทางสรีรวิทยาโดยเฉพาะพนักงานที่จะต้องปฎิบัติงานนั้น ๆ
วัตถุประสงค์ของการศึกษาวิธีการทำงาน พอสรุปได้ดังนี้
1.      เพื่อปรับปรุงกระบวนการและวิธีการทำงานขององค์การ
2.     เพื่อปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการทำงานขององค์การให้เหมาะสม
3.     เพื่อปรับปรุงการใช้เครื่องจักร เครื่องมือและอุปกรณ์ในการทำงานให้มีประสิทธิภาพ
มากขึ้น
4.     เพื่อลดขั้นตอนการทำงานให้สะดวกต่อการทำงานของพนักงาน
5.     เพื่อหาวิธีการหรือกระบวนการในการขนย้ายวัสดุให้มีความเหมาะสม ในการทำงาน
ของพนักงาน
       ขั้นตอนการศึกษาวิธีการทำงาน ประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้
1. เลือกงานที่จะทำการศึกษา (Select) การพิจารณาเลือกงานที่จะศึกษา องค์การจะต้องเลือกงานที่มีความจำเป็นเหมาะสม เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์การ โดยมีหลักเกณฑ์การพิจารณาดังนี้
ความจำเป็นและความเร่งด่วนในการปรับปรุงหรือแก้ไข
ความเป็นไปได้ที่จะปรับปรุงวิธีการทำงาน
ความคุ้มค่าเป็นการเปรียบเทียบผลประโยชน์ที่ได้รับจากการปรับปรุง
ปัญหาและอุปสรรคการนำวิธีการทำงานไปปฎิบัติ
2. การบันทึกข้อมูล (Record) เป็นการรวบรวมข้อมูล ขั้นตอนวิฑีการทำงานขององค์การเพื่อนำมาวิเคราะห์หาแนวทางการปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น ขั้นตอนการบันทึกข้อมูลในการทำงานสรุปได้ดังนี้
การบันทึกตามลำดับขั้นตอนของกระบวนการผลิต
การบันทึกข้อมูลที่บ่งบอกถึงการเคลื่อนไหว


การบันทึกข้อมูลนิยมใช้ในรูปแบบของแผนภูมิ โดยจะบันทึกขั้นตอนการทำงานทั้งก่อนและภายหลังจากที่ได้มีการปรับปรุงวิธีการทำงานนั้น การบันทึกในรูปแบบแผนภูมิ จะใช้สัญญาลักษณ์เป็นมาตรฐานสากลแทนขั้นตอนต่าง ๆ ของการทำงาน เพื่อความสะดวกต่อการปรับปรุงและแก้ไขการปฎิบัติงาน




3. การตรวจวิเคราะห์อย่างละเอียด (Examine) เป็นการตรวจอย่างละเอียดของขั้นตอนการทำงานที่ต้องมีการปรับปรุงแก้ไข โดยทั่วไปจะใช้หลักเกณฑ์ที่เรียกว่า E-C-R-S คือ
E : Eliminate        การจัดขั้นตอนส่วนที่ไม่จำเป็นในงานนอก
C: Combine รวมขั้นตอนท่ี่ก่อให้เกิดความล่าช้าในการทำงานเข้าด้วยกัน
R: Rearrange       สลับขั้นตอนการทำงานใหม่เพื่อความสะดวกในการปฎิบัติงาน
S: Simplify ปรับปรุงการทำงานให้ง่ายขึ้น เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงานขององค์การเพิ่มขึ้น
4. การวิเคราะห์พัฒนา (Analytical Development) เป็นการวิเคราะห์ทุกอย่างที่จะต้องมีการ
พัฒนาโดยเฉพาะองค์การผลิต เพื่อการตรวจสอบข้อบกพร่องและวิธีการปรับปรุงแก้ไขให้
เหมาะสมกับองค์การ
5. การนำวิธีการทำงานแบบใหม่ไปใช้และกำหนดเป็นมาตรฐานในการทำงาน ตลอดจนรักษาวิธีการทำงานให้คงสภาพอยู่ (Maintain)
การวัดผลงาน
การวัดผลงาน (Work Measurement) เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาการทำงาน บางครั้งเรียกว่า การศึกษาเวลา (Time Study) เพื่อคำนวณหาเวลามาตรฐานการทำงาน โดยมุ่งเน้นที่จะศึกษาเวลาที่จะใช้ในการทำงาน โดยพิจารณาจากสิ่งแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อผู้ปฎิบัติงานนั้น เช่นอุณหภูมิ เสียง แสงสว่างและความเครียดที่มีผลกระทบต่อการทำงานแต่ละประเภท เพื่อนำเวลาที่หาได้มากำหนดเป็นเวลามาตรฐาน (Standard Study) มีขั้นตอนการวัดผลงาน มีดังนี้
1. เลือกงานที่จะวัด โดยทั่วไปแล้วมักจะเป็นงานที่มีปัญหาหรือเป็นงานใหม่ขององค์การบันทึกขอ้มูลต่าง ๆ เกี่ยวกับงานเลือกวัดผล
1. ตรวจสอบข้อมูลที่บันทึก พร้อมทั้งบันทึกงานที่ไม่ได้ก่อให้เกิดผลผลิต
2. วัดผลงานโดยใช้เทคนิควิธีการวัดผล เพื่อคำนวณเวลามาตรฐานของงาน
3. กำหนดขอบเขตงานต่าง ๆ ให้ชัดเจนและเก็บข้อมูลไว้เป็นหลักฐาน (Define)
       
การศึกษาเวลาแบ่งออกได้เป็น การศึกษาโดยตรง (Direct Time Study) เป็นการศึกษาเวลาโดยใช้การจับเวลาในขณะปฎิบัติงานโดยตรง และการศึกษาเวลามาตรฐาน พรีดีเทอร์มีน (Predetermined Time Standard : PTS) เป็นการศึกษาเวลาโดยจะใช้ข้อมูลมาตรฐานเวลาจากความสัมพันธ์ของการเคลื่อนไหวของพนักงาน นำมาประเมินค่าเป็นตัวเลขของเวลา รวมถึงการพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลต่อการทำงาน เวลามาตรฐานพรีดีเทอร์มีนจะบอกถึงมาตรฐานเวลาที่ใช้ในการเคลื่อนไหวพื้นฐานของการทำงาน


การวัดผลงานจะช่วยให้องค์การกำจัดเวลาที่ไม่ก่อให้เกิดผลงาน รายละเอียดการวัดผลงานมีดังนี้
1. เวลามาตรฐาน (Standard Time) หมายถึง เวลาที่วัดได้ของการทำงานภายใต้ภาวะการทำงาน
2. เวลาที่วัดได้ หมายถึง เวลาที่ใช้ในการทำงาน การวัดจะเป็นต้องวัดจากคนงานตัวอย่างที่เหมาะสม จำนวนครั้งตามหลังสถิติ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด
3. อัตราการประเมิน หมายถึง การคำนวณอัตราการทำงานของผู้ปฎิบัติงาน เพื่อนำมาใช้ปรับค่าเวลาให้เหมาะสมมากขึ้น
4. เวลาเผื่อ หมายถึง เวลาปรับเพิ่มเพื่อให้ได้ค่าเวลาที่เป็นมาตรฐานใกล้เคียงกับความเป็นจริง เวลาเผื่อ ได้แก่ เผื่อส่วนตัว ความเมื่อยล้า และการรอคอย
ประโยชน์ของการวัดผลงาน มีดังต่อไปนี้
1.ใช้เปรียบเทียบประสิทธิภาพของการทำงานด้วยวิธีการต่าง ๆ
2. เป็นข้อมูลในการจัดความสมดุลในการผลิตให้กับพนักงาน รวมทั้งกำหนดรอบเวลาในการผลิต
3. ใช้ในการวางแผนและควบคุมการผลิต เพื่อให้สามารถผลิตสินค้าได้ตามประมาณในเวลาที่กำหนด
4. ใช้เป็นข้อในการประเมินค่าใช้จาย ราคาขาย และกำหนดเวลาในการผลิต
5. ใช้ในการกำหนดมาตรฐานการทำงานของคนและเครื่องจักร ตอลดจนการกำหนดแรงจูงใจ
6. ใช้เป็นขอ้มูลในการควบคุมการใช้จ่ายค่าจ้างแรงงานและกำหนดค่าแรงมาตรฐาน
การสุ่มงาน (Work Sampling) เป็นเทคนิคการวัดผลงานอีกวิธี โดยการนำวิธีการทางสถิติมาช่วยในการผลิตในการเก็บข้อมูล เพื่อนำมาใช้คำนวณสัดส่วนของเวลาการทำงาน ช่วยให้องค์การสามารถกำหนดมาตรฐานเวลาการทำงาน ช่วยให้องค์การสามารถกำหนดประสิทธิภาพการทงานได้สะดวกขึ้น
การผลิตแบบทันเวลาพอดี
การผลิตแบบทันเวลาพอดี (Just In Time) เป็นเทคนิคการนำชิ้นส่วนที่จำเป็นเข้าสู่กระบวนการผลิตในเวลาที่ต้องการ มุ่งเน้นการลดการเก็บวัสดุหรือวัตถุดิบคงคลัง วัตถุดิบที่นำมาใช้ในการผลิตต้องสั่งเข้ามาในปริมาณที่จำเป็นต่อการใช้งาน การมี ชิ้นส่วนเข้ามาในปริมาณมากเกินไปและในเวลาที่ไม่ต้องการ จะมีผลเสียต่อองค์การได้ คือ
1. สิ้นเปลืองเนื้อที่ในการจัดเก็บ
2. การสั่งซื้อวัตถุดิบจำนวนมากเกินไป ต้องนำไปเก็บในคลังสินค้าเป็นการเพิ่มต้นทุนการผลิต
3. สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บ เช่น ค่าเช่าสถานที่ ค่าแรงงานของพนักงานในการตรวจเช็คพัสดุคงคลัง
วัตถุประสงค์หลักของการผลิตแบบทันเวลาพอดี ก็เพื่อลดความสูญเสียในกระบวนการผลิตการผลิตแบบทันเวลาพอดีจึงเป็นการปรับปรุงการเพิ่มผลผลิตโดยรวมขององค์การอีกวิธีหนึ่ง วิธีนี้เริ่มต้นและถูกพัฒนา โดยบริษัทโตโยต้าแห่งประเทศไทย ปัจจุบันมีการนำไปใช้อย่างกว้างขวางทั้งในประเทศญี่ปุ่นและประเทศอื่น โดยมีขั้นตอนในการปฎิบัติ ดังนี้
1. ปรับปรุงสถานที่ทำงานตามหลักการ 5 ส
2. จัดต้องสายการผลิตให้มีลักษณะการผลิตเป็นแบบไหลต่อเนื่อง
3.  ปฎิบัติงานตามขั้นตอนมาตรฐานกำหนด
4. ปรับเปลี่ยนแนวคิดของพนักงานให้ตระหนักถึงผลเสียของการมีวัสดุคงคลัง มากเกินความจำเป็น
5. ชนิดของปริมาณสินค้าที่องค์การผลิต จึงต้องทำการผลิตให้ตรงกับความต้องการของลูกค้ามากที่สุด
วิธีการผลิตแบบ Just In Time ประกอบด้วยวิธีการต่าง ๆ ดังนี้
1. การใช้ระบบคัมบัง (Kamban System) เป็นเครื่องมือที่ใช้ในระบบการผลิต โดยมีหลักการที่สำคัญคือ
1.1 การสั่งผลิต (Production-Ordering Kamban) หรืออาจเรียกว่า In – Process Kamban การผลิตจะระบุชนิดและปริมาณชิ้นงานส่วนในการผลิต
1.2 การเบิกชิ้นส่วนการผลิต (Withdrawal Kamban) การเบิกจะระบุชนิดและปริมาณการใช้ชิ้นส่วนในการผลิต
2. วิธีการปรับการการผลิต (Production Modernize Method)  เป็นวิธีการปรับเปลี่ยนปริมาณการผลิตขององค์การที่สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า  โดยอาศัยข้อกำหนดต่อไปนี้
2.1 การกำหนดลำดับขั้นตอนการผลิตในแต่ละวันที่จะผลิต
2.2 ความสอดคล้องระหว่างปริมาณการผลิตกับความต้องการของลูกค้า
2.3 การผลิตผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายชนิดได้อย่างต่อเนื่อง  โดยการใช้เครื่องจักรเอนกประสงค์
3. การลดเวลาปรับแต่งเครื่องจักรให้สั้นลง (Shortening Setup Time)  จะส่งผลดีดังต่อไปนี้
3.1 ผลิตผลิตภัณฑ์จะส่งมอบให้กับลูกค้าในระยะเวลาที่สั้น
3.2 ปรับลดจำนวนชิ้นงานระหว่างกระบวนการผลิต(Work in Process)ให้น้อยลงได้
3.3 ปรับเปลี่ยนรุ่นการผลิตได้อย่างรวดเร็ว  และสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงตามความต้องการของลูกค้า
4. การทำงานอย่างมีมาตรฐาน  (Standardization of  Operations)  เป็นการทำงานที่มีระบบตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด  ทำให้งานมีประสิทธิภาพทำได้ ดังนี้
4.1 การออกแบบวางผังเครื่องจักรให้ถูกต้องและเหมาะสมกับการปฎิบัติงาน
4.2 ฝึกอบรมพนักให้มีความรู้ความสามารถในหลายลักษณะของงาน  เพื่อการทดแทน
4.3 ประเมินผลงานอย่างต่อเนื่อง  และปรับปรุงมาตรฐานการทำงานให้ถูกต้องเหมาะสมกับการทำงานอยู่เสมอ
5. กิจกรรมการปรับปรุงงาน  (Improvement  Activities)  เช่น  กิจกรรมข้อเสนอแนะ  กิจกรรมกลุ่มคุณภาพ  กิจกรรมดังกล่าวเป็นการปรับปรุงวิธีการทำงานให้ดีขึ้นจากนั้นวิเคราะห์รายละเอียดของขั้นตอนการปฎิบัติงาน  เพื่อค้นหาและขจัดความสูญเปล่าต่างๆ  และปฎิบัติงานอย่างต่อเนื่อง
การบำรุงรักษาทวีผล
การบำรุงรักษาทวีผล (Total  Productive  Maintenance)  เรียกย่อว่า TPM  เป็นเทคนิคเพื่อการบำรุงรักษาเครื่องจักรให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ  สม่ำเสมอตลอดอายุการใช้งานตามที่ได้ออกแบบไว้   เครื่องจักรต้องมีการจัดทำประวัติ เพื่อกำหนดตารางเวลาการบำรุงรักษาและรับผิดชอบ  ถ้าไม่มีการบำรุงรักษาเครื่องจักรที่ดี  อาจทำให้เกิดปัญหาในสายการผลิต  ทำให้การผลิตต้องหยุดชะงักเพื่อซ่อมแซมแก้ไขเครื่องจักร  ยิ่งหยุดเครื่องนานเท่าใดองค์การก็จะยิ่งเสียหายมากขึ้นเท่านั้น  คำย่อ TPM มีความหมายถึง
        T  =  Total  :  การพัฒนาประสิทธิภาพรวมของเครื่องจักร  โดยมุ่งเน้นหลักการอาศัยความร่วมมือของพนักงานทุกคน
        P  =  Productive  :  การผลิตมุ่งเน้นประสิทธิภาพสูงสุด
        M  =  Maintenance  :  การดูแลบำรุงรักษาเครื่องจักร  เพื่อให้การบริหารการผลิตเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
        ดังนั้น  การบำรุงรักษาทวีผล  หมายถึง  การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตขององค์การ  ด้วยการลดต้นทุนโดยรวมของเครื่องจักรตลอดอายุการใช้งานให้ราบรื่น  และลดความสูญเสียที่เกิดขึ้นจากข้อบกพร่องของเครื่องจักร  บริษัทลีเวอร์บราเดอร์  (ประเทศไทย)  จำกัด  ประกาศใช้อย่างเป็นทางการ  ซึ่งสามารถลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มคุณภาพอย่างได้ผล
หลักการบำรุงรักษาทวีผล
เครื่องจักรและพนักงานเป็นปัจจัยสำคัญของกระบวนการผลิตที่สามารถควบคุมได้ง่ายหากว่าวัตถุดิบ  ซึ่งเป็นปัจจัยภายนอกที่ยากแก่การควบคุม  การรักษาเครื่องจักรให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและอายุการใช้งานที่ยาวนาน  จึงเป็นเทคนิคที่นิยมใช้กันมาก  สำหรับการบำรุงรักษาเครื่องจักร  หลักการรักษาทวีปนะกอบด้วยวิธีการต่าง ๆ ดังนี้
1. การเพิ่มประสิทธิผลของเครื่องจักร โดยการขจัดความสูญเสีย 6 ประการ คือ
1.1  การหยุดของเครื่องจักรเพื่อปรับตั้งและปรับแต่งเครื่องจักรใหม่
1.2 การหยุของเครื่องจักร เนื่องจากเครื่องจักรขัดข้อง
1.3 เครื่องจักรเสียความเร็ว (Speed) หรืออัตราเร่งในการผลิต
1.4 การหยุดเล็ก ๆ น้อย ๆ ของเครื่องจักร เพื่อซ่อมแซมหรือตรวจซ่อม
1.5 การผลิตของเสียที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิต
1.6 การสูญเสียวัตถุดิบตอนเริ่มทำการผลิต (Start Up)ฃ


2. การให้พนักงานทุกคนมีส่วนร่วมบำรุงรักษาเรื่องจักร เช่น การทำความสะอาดการทำกิจ
กรรมกลุ่ม การบำรุงรักษาเครื่องจักรและการปรับปรุงประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักรให้สูงขึ้น
3. การจัดทำแผนการบำรุงรักษาเครื่องจักร โดยการจัดทำตารางการซ่อมบำรุงเพื่อเพิ่มประสิทธิ
ภาพการใช้งานของเครื่องจักร
4. การพัฒนาความรู้ ทักษะของพนักงาน เรื่องการดูแลรักษาเครื่องจักร รวมทั้งปลูกจิตสำนึกใน
การบำรุงรักษาเครื่องจักร
5. การสร้างระบบการป้องกัน การบำรุงรักษาเครื่องจักร จะเน้นหนักในขั้นตอนการออก
แบบ เพื่อให้ใช้ได้งานได้โดยไม่จำเป็นต้องบำรุงรักษา (Maintenance Free) โดยอาศัยข้อมูลการใช้งานของเครื่องจักรต่าง ๆ
วิธีการบำรุงรักษาทวีผล (Productive Maintenance) ประกอบไปด้วยการบำรุงรักษาหลายรูปแบบ ดังนี้
1. การบำรุงรักษาเพื่อป้องกัน (Preventive Maintenance)  เป็นการวางแผนกำหนดช่วงเวลา
การตรวจสอบ และการบำรุงรักษาเครื่องจักร รวมทั้งอุปกรณ์ชิ่นส่วนต่าง ๆ โดยไม่ต้องคำนึงถึงสภาพของชิ้นส่วน เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นเป็นการวางแผนป้องกันไว้ล่วงหน้า โดยไม่ทำให้กระบวนการผลิตขององค์การต้องหยุดชะงักลงการบำรุงรักษาเพื่อป้องกัน แบ่งออกเป็น
      1.1 การบำรุงรักษาตามที่กำหนดเวลา เป็นการนับเวลาจากการบำรุงรักษาครั้งหนึ่งไปยังอีกครั้งหนึ่งมักจะเป็นเวลาที่คงที่ เมื่อครบกำหนดเวลาไว้จะบำรุงรักษา โดยอาจกำหนดเวลาเป็นวัน เดือน หรือปี เป็นต้น
       1.2 การบำรุงรักษาตามอายุการใช้งาน เป็นการกำหนดช่วงระยะเวลาของการบำรุงรักษาแต่ละช่วงอาจมีเวลาเท่ากัน ซึ่งจะทำการบำรุงรักษาเมื่ออุปกรณ์เครื่องจักรถูกใช้งานเท่ากับที่กำหนดไว้
2. การบำรุงรักษาแบบแก้ไข (Inspection Maintenance) เป็นการตรวจสอบสภาพการทำงานของเครื่องจักร เพื่อประเมินสภาพตามความเป็นจริง แบ่งออกเป็น
2.1 การตรวจสอบระบบการทำงานของเครื่องจักร (Function Check) เป็นการตรวจสอบระบบ
การทำงานของเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ว่าสามารถทำงานได้ตามหน้าที่ต่าง ๆ หรือไม่
        2.2 การตรวจสอบความพร้อมของเครื่องจักร (Condition Check) เป็นการตรวจสอบสภาพการทำงานของเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้พร้อมที่จะทำงานได้
3. การบำรุงรักษาแบบแก้ไข (Breakdown)  เป็นการซ่อมแซม หรือเปลี่ยนแปลงชิ้นส่วนต่าง ๆ
ของเครื่องจักร เมื่อเครื่องจักรเกิดการขัดข้องและเสียหายในขณะที่เครื่องจักรกำลังทำงานอยู่โดยไม่รู้ล่วงหน้ามาก่อนว่าจะเกิดการเสียหายขึ้น และเมื่อเกิดการเสียหายแล้ว ทำให้ต้องหยุดเครื่องเพื่อทำการซ่อมแซม หรือเปลี่ยนชิ้นส่วนที่เสียหายนั้น
ประโยชน์ของการบำรุงรักษาทวีผล TPM ที่สำคัญคือ
1. การพัฒนาคนให้สามารถบำรุงรักษาเครื่องจักรและปรับปรุงเครื่องจักรให้ดีขึ้น แบ่งออก
เป็น
1.1  พนักงานสามารถบำรุงรักษาเครื่องจักรได้ด้วยตัวเองในดับหนึ่ง
1.2 พนักงานซ่อมบำรุง สามารถซ่อมบำรุงรักษาเครื่องจักร /อุปกรณ์ได้
2. การปรับปรุงเครื่องจักร/อุปกรณ์ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน เป็นการยืดหยุ่นการใช้งานของเครื่องจักร ทำให้ไม่เกิดการหยุดชะงักในกระบวนการผลิต อันจะนำมาซึ่งการเพิ่มผลผลิตและกำไรสูงสุดขององค์การ


                                                                                             
                                                                   
                               

0 ความคิดเห็น:

ยินดีต้อนรับสู่บทเรียนออนไลน์วิชาการพัฒนางานด้วยระบบคุณภาพและเพิ่มผลผลิต

.